Sunday, January 6, 2013

อนุบาลแนวทางเลือก

คุณแม่ไปอ่านเจอบทความนี้เข้าจึงเปลี่ยนใจ

อนุบาลแนวไหนดี อ้างอิงจาก  http://mothercorner.com/index.php?topic=633.0;wap2

เพิ่มเติม แนวคิดจากคุรครูอนุบาล
http://topicstock.pantip.com/family/topicstock/2012/03/N11870558/N11870558.html



อนุบาลแนวไหนดี




คําถามว่า “จะเลือกโรงเรียนอนุบาลแนวไหนให้ลูกดี” ไม่เคยอยู่ ในหัวของผมมาก่อน ด้วยตอนแรกเข้าใจเอาเองว่า โรงเรียนอนุบาลที่ไหนๆ คงเหมือนๆ กัน



นั่นคือ เน้นให้เด็กได้เล่นสนุก หัดอ่าน หัดเขียน หัดนับตัวเลข เหมือนสมัยผมยังเป็นเด็กตัวน้อยๆ



แต่ปรากฏว่าผมคิดผิดครับ



เพราะทันทีที่ผมเตรียมหาโรงเรียนอนุบาลให้กับลูกชาย บรรดาเพื่อนฝูง ผู้หลักผู้ใหญ่ ซึ่งมากประสบการณ์ในการเป็นพ่อแม่ได้ให้คําแนะนําหลา กหลาย





“ให้เข้าโรงเรียนอนุบาลนี้สิ ของเขาเน้นวิชาการ เด็กๆ ทุกคนเรียนจบไปรับรอง เข้าโรงเรียนดังๆ ได้แน่ๆ”



“ไปเข้าที่นี่สิ ลูกสาวเรียนอยู่อนุบาล 3 อ่านหนังสือออก เขียนหนังสือคล่องเลยแหละ”



“เรียนแนวเตรียมความพร้อมดีกว่า ลูกจะได้ไม่เครียด โตขึ้นจะได้มีสุขภาพจิตดี”



คําแนะนําจากผู้หวังดีสารพัดรูปแบบ ทําให้ผมต้องมาพูดคุยกับหญิงสาวคู่ชีวิตว่า ลูกของเราเหมาะจะเริ่มต้นการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน ด้วยปรัชญาการศึกษาแบบไหนกันแน่



เราทั้งคู่เริ่มจากการค้นคว้าองค์ความรู้เรื่อง แนวการศึกษาจากหนังสือหลากหลายเล่ม ค้นหาอ่านจากข้อมูลในอินเทอร์เน็ต สอบถามพูดคุยกับผู้รู้ เหล่านักวิชาการด้านเด็กปฐมวัย ทําให้อดตกตะลึง ไม่น้อยเมื่อรู้ว่า หากแบ่งจําแนกประเภทโรงเรียนอนุบาลตามปรัชญาการศึกษา แล้ว มีอยู่หลากหลาย ทีเดียว ทั้งแนววิชาการ แนวมอนเตสซอรี แนววอลดอร์ฟ แนวนีโอฮิวแมนนิส แนวพหุปัญญา แนวพุทธ ฯลฯ

แต่อาจจะพอแบ่งแบบคร่าวๆ ได้ 2 อย่าง คือ แนวกระแสหลัก เน้นการเรียนรู้เชิงวิชาการ กับแนวทางเลือก เน้นการเตรียมความพร้อม



ในโรงเรียนอนุบาลกระแสหลัก แนววิชาการนั้น เป็นรูปแบบจัดการเรียนการสอนแต่เดิม ด้วยเชื่อว่าเด็กมีศักยภาพในการเรียนรู้ได้เต็มที่ ดังนั้นควร เร่งสอนให้เด็กสามารถหัดอ่าน หัดเขียน หัดบวกลบเลขให้ได้โดยเร็ว เพื่อจะสามารถเรียนรู้เพิ่มขีดความสามารถของสมองให้ก ว้างขึ้น



โรงเรียนแนวนี้มีตั้งแต่แนวติวเข้มประเภท วางเป้าให้เด็กสามารถสอบเข้าโรงเรียนชื่อดังต่างๆ ทั้งในเครือคาทอลิก หรือเครือสาธิตฯ ให้ได้ ครูจะ เน้นสอนให้เด็กเขียน อ่าน วันละหลายหน้า ให้ทําโจทย์ข้อสอบ แบบฝึกหัดบ่อยๆ มีการบ้านให้เด็กทํา



หรือประเภทโรงเรียนเน้นวิชาการแบบอ่อน มีผสมผสานให้เด็กร้องรําทําเพลง มีการละเล่น เฮฮา สนุกสนาน เล่นเกมบ้าง แต่ยังมีการเน้นให้เด็ก หัดเขียน อ่าน ผสมคํา ฝึกบวกลบเลข



ส่วนโรงเรียนอนุบาลทางเลือก แนวเตรียม ความพร้อม จะเน้นพัฒนาศักยภาพของเด็ก โดย นําเอาความต้องการของเด็ก ความสุขของเด็กเป็นศูนย์กลาง



โรงเรียนประเภทนี้ จะแยกย่อยไปอีกหลาย รูปแบบตามปรัชญาการศึกษา แต่โดยทั่วๆ ไปจะเน้นให้เด็กได้ฝึกทักษะด้านต่างๆ ทั้งฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ ผ่านการเล่นเกม วาดรูป ปั้นดินน้ำมัน หัดร้องเพลง กระโดดโลดเต้น เล่านิทาน ฯลฯ กิจกรรมหลากหลายจะถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาให้เด็กได้เรีย นรู้ผ่านความสนุก มากกว่าจะเน้นการหัดอ่าน หัดเขียนเพียงอย่างเดียว



หลังจากหาข้อมูลมาพอสมควร ผมและสาว ข้างกายเห็นพ้องต้องกันว่า ลูกชายแสนซนของเรา น่าจะเหมาะกับโรงเรียนแนวเตรียมความพร้อม มากกว่าแนววิชาการ เพราะเราอยากเห็นลูกมีความสุขในการเรียนรู้มากกว่าจะ ต้องเครียดกับการเรียนเหมือนสมัยเรายังเล็ก



อืม...อันที่จริงผมอยากหาโรงเรียนแบบ “โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง” หนังสือเยาวชนญี่ปุ่นเล่มโปรดของผม โรงเรียนของโต๊ะโตะจังมีคุณครูเข้าใจในธรรมชาติของเด ็ก ให้เด็กได้เรียนรู้โลกกว้างโดยไม่จํากัดแค่ห้องเรียน สี่เหลี่ยมและในตํารา



จําได้ว่า เมื่อแรกอ่านหนังสือเล่มนี้ผมฝันอยากกลับ เป็นเด็ก กลับไปใช้ชีวิตวัยเยาว์ในสภาพการเรียนการสอนแบบของโต ๊ะโตะจัง



ดังนั้น เมื่อถึงคราวหาโรงเรียนให้ลูก ผมไม่รีรอจะหาโรงเรียนในรูปแบบใกล้เคียงกับโรงเรียนข องโต๊ะโตะจัง ให้มากที่สุด



แน่นอนครับว่า การให้ลูกเข้าเรียนในโรงเรียน แนวเตรียมความพร้อมในวันนี้ แม้จะมีคนเข้าใจการเรียน การสอนในแนวนี้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่กระแสสังคม ส่วนใหญ่ของไทยยังตั้งข้อกังขา และเปรียบเทียบเด็ก จากการเรียนรู้ 2 แนวทางอยู่ตลอดเวลา ประเภทที่ว่า





“อายุเท่ากันแท้ๆ เรียนอยู่อนุบาล 2 เหมือนกัน ทําไมเด็กคนนั้นเขียนหนังสือสวย อ่านหนังสือคล่องแล้ว ลูกของเธอถึงยังเขียนชื่อตัวเองไม่ได้เลย”



“โรงเรียนให้เล่นเกมทั้งวัน ไม่ยอมสอนอะไรเลย อย่างนี้จะไปสอบเข้าโรงเรียนอื่นได้อย่างไร”



“ไปเข้าป.1 โรงเรียนเขาเน้นวิชาการกันจะเรียนทันเพื่อนหรือ คนอื่นเขาบวกลบเลขได้แล้วนะ”



ครับ...คนเป็นพ่อแม่ หากตัดสินใจส่งลูกไปเรียนโรงเรียนแนวเตรียมความพร้อม คงต้องมั่นคงในหลักปรัชญาการศึกษาแนวนี้หน่อยนะครับว ่า การเตรียมให้ลูกมี ความพร้อมในทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆ ฝึกการพัฒนาทักษะทั้งทางกาย ใจ ความคิด จินตนาการ ย่อมเป็นรากฐานอันดีในการเรียนรู้ขั้นสูงต่อไป



เสมือนปูฐานรากอันมั่นคงให้ความใฝ่เรียนรู้ของลูกได้ เติบใหญ่ขึ้นไปอย่างมีความสุข





ดร. มานะ ตรีรยาภิวัฒน์

อดีตนักกิจกรรมจากรั้วโดม ธรรมศาสตร์

เคยเป็นผู้สื่อข่าวผู้จัดการรายวัน ปัจจุบันรับหน้าที่

คุณพ่อลูกสอง และเป็นอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย







CheekiMommy:

เท่าที่สังเกตเด็กที่ได้่เรียนจากโรงเรียนแนวเตรียมความพร้อมหรือจบการศึกษาชั้นอนุบาลจากโรงเรียนแนวนี้ แม้ว่าระยะแรกในการเริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาอาจจะไม่ทันเพื่อนๆ บางคนที่อาจจะมีพื้นฐานทางการศึกษาที่แน่นกว่า (เรียกว่า อ่าน เขียนได้ดีกว่า) แต่เมื่อปรับตัวได้แล้วก็จะตามทันเพื่อนๆ และอาจจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าเพื่อนๆ คนอื่นๆ ต่อไปในอนาคตค่ะ



เด็กที่ได้รับการศึกษาแบบเตรียมความพร้อม เด็กจะมีความรู้สึกสบายใจกับการเรียน ชอบการเรียน และมีความมั่นคงในจิตใจในการศึกษาของตัวเองค่อนข้างมาก สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับเด็กระหว่างที่อยู่โรงเีรียน รวมถึงหลักสูตรที่ไม่ได้เน้นการอ่านออก เขียนได้ หรือเร่งรัดที่จะให้เด็กต้องมีความสามารถเหนือกว่าเด็กของโรงเรียนอื่นๆ ในช่วงชั้นเดียวกันนี้ นี่อาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เด็กที่ได้เรียนโรงเรียนแนวเตรียมความเหล่านี้สามารถก้าวตามเพื่อนในวัยเดียวกัน (แม้จะมาจากโรงเรียนที่มีหลักสูตรแตกต่างกันหรือหลักสูตรแนวกระแสหลัก อย่างที่ ดร.มานะฯ ได้กล่าวถึงค่ะ) และบางครั้งก็จะกระโดดไปได้ไกลกว่าเพื่อนๆ ได้ด้วยค่ะ



คุณพ่อคุณแม่แต่ละท่าน แต่ละครอบครัวก็มีแนวคิดที่แตกต่างกัน อันนี้เป็นเพียงอีกหนึ่งความคิดที่นำมาแชร์กันค่ะ



อย่างไรก็ตาม ลูกก็เป็นบุคคลที่มีคุณค่าและสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องหาและเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับ



ขอให้มีความสุขกับการเลือกโรงเรียนให้กับลูก และขอให้ลูกมีความสุขกับโรงเรียนที่คุณได้เลือกให้นะคะ (^^)



LoveKids:

ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่คิดว่า จะให้ลูกเรียนแนวเตรียมความพร้อมค่ะ

เพราะไม่เห็นความจำเป็นอะไรที่จะต้องเร่งยัดเยียดการเรียนต่างๆ ให้ลูก และอยากให้ลูกมีความสุขกับการไปโรงเรียนค่ะ

เห็นด้วยกับคุณ CheekiMommy มากๆเลยค่ะ


No comments:

Post a Comment