ปฏิทินการตั้งครรภ์

เรียนรู้ทุกระยะของการตั้งครรภ์

ในปฏิทินการตั้งครรภ์เพื่อดูพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ของคุณพร้อมอ่าน ข้อมูลและเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับร่างกายของคุณแม่ตามสัปดาห์ต่างๆ

การตั้งครรภ์ เดือนที่ 1
การเจริญเติบโตและการพัฒนาของทารก


ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว 5-7 วันจะฝังตัวที่ผนังมดลูก[uterus]ไข่เจริญอย่างรวดเร็วเรียกตัวอ่อน embryo ซึ่งจะมีการสร้างรกplacenta และสายสะดือ umbilical cord เพื่อเป็นทางนำอาหารจากแม่สู่ลูกและขับของเสียจากลูกสู่แม่ เด็กจะอยู่ในถุงน้ำเรียก amniotic sac ซึ่งป้องกันแรงเด็กจากการกระแทก
สัปดาห์ที่2-3 จะมีการสร้างประสาทไขสันหลังและกระดูกสันหลังรวมทั้งเส้นประสาท เมือเวลาผ่านไป 6 สัปดาห์เด็กจะมีหัวและลำตัว

สัปดาห์ที่ 5 เซลล์จะแบ่งเป็น3ชั้นได้แก่
1.ชั้นนอก ectoderm ซึ่งจะสร้าง สมอง เส้นประสาท และผิวหนัง
2.ชั้นกลาง mesoderm ซึ่งจะกลายเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเลือด หัวใจและอวัยวะเพศ
3.ชั้นใน endoderm ซึ่งจะกลายเป็นอวัยวะภายในเช่น ตับ หัวใจ กระเพาะ ปอด เป็นต้นเริ่มมีการสร้างหัวใจ (5-6สัปดาห์หลังจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย) ตาและแขน แต่ยังฟังเสียงหัวใจไม่ได้ สิ้นสุดสัปดาห์ที 6 เด็กจะมีขนาดครึ่งนิ้ว


การตั้งครรภ์ เดือนที่ 2


การเจริญและการพัฒนาของทารก



ระยะนี้เป็นระยะสำคัญที่สุดเนื่องจากจะมีการเจริญเติบโตเร็วมาก ดังนั้นไม่ว่าการติดเชื้อไวรัส ยาที่รับประทาน หรือสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตหากเด็กได้รับช่วงนี้จะเกิดความพิการได้

เมื่อสิ้นสุดเดือนที่สองอวัยวะต่างๆจะพัฒนา เช่น สมอง ตับ หัวใจ กระเพาะ นิ้ว มือ หู และอวัยวะเพศ ในระยะนี้เด็กจะมีขนาด 1 นิ้วเราเรียกระยะนี้ว่า fetus

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ตั้งครรภ์

ทุก ครั้งที่ท่านไปตามนัด แพทย์จะวัดความความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะเพื่อหาน้ำตาล และไข่ขาวในปัสสาวะ และวัดขนาดของมดลูก แพทย์จะถามถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ดังนั้นควรจดปัญหาที่เกิดไว้เพื่อถามแพทย์ ผู้ ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะเกิดอาการของคนตั้งครรภ์คือ รู้สึกเหนื่อย ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องอืดเพ้อ คัดเต้านม หัวนมจะมีสีคล้ำขึ้น ปวดศีรษะ รู้สึกว่าเสื้อผ้าจะคับ อารมณ์จะยังคงผันผวน



การตั้งครรภ์ เดือนที่ 3
การเจริญและการพัฒนาของทารก


เด็กทารกวัยนี้จะมีอวัยวะครบถ้วน เริ่มมีการขยับแขน ขา ศีรษะ อ้าปากและหุบปากได้ นิ้วเริ่มมีเล็บ แต่ท่านยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเนื่องจากเด็กยังมีขนาดเล็ก แขนและมือจะมียาวกว่าขา ศีรษะเด็กจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว

หัวใจจะมี4 ห้อง หัวใจจะเต้น 120-160 ครั้ง ไตเริ่มขับของเสียสู่กระเพาะปัสสาวะและถูกนำออกโดยสายสะดือ เด็กในระยะนี้จะมีความยาว 4 นิ้ว

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ตั้งครรภ์

เมื่อไปฝากครรภ์แพทย์จะวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และตรวจนับอัตราการเต้นของหัวใจ ขนาดของมดลูกเพื่อเปรียบเทียบกับอายุครรภ์